อากาศหนาวๆแบบนี้ สำหรับประเทศไทยแล้วนึกถึงหิมะคงจะยาก จะมีก็แต่ "แม่คะนิ้ง" นี่แหละครับที่น่าชม และน่าสนใจ
"แม่คะนิ้ง" เป็นคำจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่า "เหมยขาบ" ซึ่งก็คือผลึกน้ำแข็งที่เกิดขึ้นจากไอน้ำในอากาศใกล้ผิวดิน ลดอุณหภูมิลงถึงอุณหภูมิจุดน้ำค้าง แล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ต่อจากนั้นอุณหภูมิยังคงลดต่อไปอีก จนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ทำให้น้ำค้างแข็งตัว กลายเป็นน้ำค้างแข็ง จึงเกิดเป็นความสวยงามอย่างที่เราเห็น
แต่ถึงกระนั้น "แม่คะนิ้ง" จะทำความเสียหายแก่พืชไร่และผักต่าง ๆ เช่น ข้าวที่กำลังออกรวงก็จะมีเมล็ดลีบ พืชไร่จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอ ไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าวและทุเรียนใบจะแห้งร่วง ถ้าเกิดติดต่อกันหลายวัน ก็จะทำความเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้มากขึ้น
ในเมืองไทยสามารถพบเห็นได้ตามบริเวณยอดดอยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ส่วนมากจะเกิดในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
แถมด้วยการอธิบายความแตกต่างของแม่คะนิ้ง กับน้ำค้างแข็งด้วยครับ